วันนี้ฉันอยากเขียนถึง podcast ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน ในหนึ่งวัน ทำอย่างไรที่จะให้เราทำสิ่งต่างๆ ภายใน 24 ชั่วโมงให้ productive มากที่สุด บอกเลยว่าเป็น podcast เรื่องหนึ่งที่ฉันชอบและฟังหลายรอบมาก
ทริกใช้ได้จริงตั้งแต่เข้านอนยันหมดวัน ที่ทำให้ชีวิต Productive รอบด้านที่สุดรายละเอียดใน podcast สรุปได้อย่างนี้ค่ะ
นอนให้มีคุณภาพ : งดอาหารก่อนนอน 4 ชั่วโมง รวมถึงแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน พวกชา กาแฟ ถ้าคุณมีคุณภาพการนอนที่ดี วันรุ่งขึ้นคุณจะตื่นมาอย่างสดชื่น อย่าทำงานตอนที่รู้สึกง่วง เราควรจะนอนก่อน นอนให้เต็มที่ พอตื่นมาทำงานจะมีประสิทธิภาพมากกว่า
Quote “วันของคุณไม่ได้เริ่มต้นตอนคุณตื่น แต่เริ่มต้นตอนคุณจะนอน”
ตื่นมาออกกำลังกาย จะมากหรือน้อยขอให้ออกเถอะ : ก่อนนอนเตรียมชุดออกกำลังกายไว้เลย ตื่นมาเราจะจำได้ว่าเราเตรียมชุดไว้แล้วเพื่อออกกำลังกาย บางคนอิดออดมากกว่าจะลุกจากเตียง ฉะนั้นลองใช้กฎ 5 วินาที คือตื่นมาแล้ว นับ1-5 แล้วลุกเลย เพราะถ้าเรามัวนอนคิดนั่นคิดนี่เกินห้าวินาที สมองเราก็จะคิดอะไรไปเรื่อยหาเรื่องแก้ตัว สุดท้ายเราก็ไม่ได้ลุกไปออกกำลังกาย
รับประทานอาหารเช้า : หลีกเลี่ยงอาหารที่มี Gluten คือพวกแป้งสาลี จะทำให้เรามีพลังมากขึ้นในระหว่างวัน ทำให้ไม่ง่วง
ถึงที่ทำงาน ช่วง Prime time คือช่วงเวลาที่สมองเราทำงานได้ดีที่สุด ส่วนใหญ่คนส่วนมากจะมี Prime time ตอนช่วงเช้า เราจะทำงานได้เยอะมากที่สุด ดูลิสก่อนว่าเช้ามาเราต้องทำอะไร และอะไรสำคัญที่สุด งานสำคัญเป็นงานที่ยากที่เราไม่อยากทำและเก็บไว้ที่หลัง ซึ่งเราควรนำงานนั้นมาทำก่อน ให้จบไปเลย
งาน 4 ประเภท ที่ควรจะเลือกทำงานที่ 1 และ 2 มากที่สุด
1 งานสำคัญและด่วน เช่น คุณได้รับโทรศัพท์จากโรงพยาบาลบอกว่าคุณเป็นโรคร้ายแรง นี่คืองานสำคัญและด่วนคุณต้อง take action ทันที
2 งานสำคัญแต่ไม่ด่วน เช่น เพื่อป้องการการเกิดโรคร้ายแรง (งานสำคัญและด่วน) เราควรใส่ใจการกินอาหาร ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ สิ่งพวกนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนแต่สำคัญ เราทำได้ไปทีละสเต็ปในแต่ละวัน ทำงานส่วนนี้ให้มากๆ เพื่อลดงานสำคัญและด่วนในข้อที่ 1
3 งานไม่สำคัญแต่ด่วน เช่น การดูหนัง ดูซีรีส์ ไม่ใช่เรื่องสำคัญแต่เราคิดว่าต้องดูเพราะมันเป็นเทรน ถ้าไม่ได้ดูเดี๋ยวคุยกับคนอื่นเขาไม่รู้เรื่อง ดังนั้นเรื่องพวกนี้จึงแย่งเวลา งานสำคัญแต่ไม่ด่วน คือ การศึกษาหาความรู้ การออกกำลังกายไปหมด
4 งานไม่สำคัญและไม่ด่วน ละเว้นไปบ้างก็ได้ค่ะ ^ – ^
เวลาเที่ยง หลีกเลี่ยงการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์โดยการออกไปกินข้าวเที่ยงข้างนอก เพื่อให้สมองได้พักบ้างหลังจากนั่งทำงานหน้าจอคอมฯ มาทั้งเช้า ไม่กินข้าวไปเล่นโทรศัพท์ไป
ช่วงบ่าย ประสิทธิภาพสมองเริ่มน้อยลง ถ้าสามารถงีบได้นิดหน่อย ประมาณ 15-20 นาที จะทำให้สมองใช้งานได้ดีขึ้น
Quote ”การนอนช่วงกลางวันเป็นเครื่องมือ Productivity ที่ถูกที่สุด”
อาหาร เป็นอย่างหนึ่งที่ทำให้ชีวิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น การกินอาหารแบบ Fasting หรือการอดอาหารเป็นช่วงๆ เช่น 16/8 อดอาหาร 16 ชั่วโมง รับประทานอาหารได้ภายใน 8 ชั่วโมง
เช่น เราเริ่มรับประทานอาหารมื้อแรก 8 โมงเช้า หยุดรับประทานอาหารตอนสี่โมงเย็น หลังจากนั้น จะกินได้แต่น้ำเปล่า จะรู้สึกตัวเบา ไม่เหนื่อย หรือหมดแรง อ่านเรื่อง อะไรคือ IF หรือ Intermittent Fasting ได้ที่ The Standard ค่ะ
กลับจากที่ทำงาน : เป็นเวลาของการพบปะเพื่อนฝูงและครอบครัว หรือทำงานอดิเรก
ก่อนนอน : นั่งสมาธิ ทำให้ใจเย็นลง มีสติมากขึ้น ตอนนอนจะทำให้ปิดสวิตช์ได้หรือหลับได้เร็วขึ้น ไม่ฟุ้งก่อนนอน, ลองยืดเหยียดร่างกายก่อนนอน ประมาณ 10 นาที, อย่าเอามือถือไว้ในห้องนอน ให้ใช้นาฬิกาปลุกจริงๆ เพราะคนปัจจุบันติดมือถือกันมาก จนเสียเวลากับโทรศัพท์อีกระยะหนึ่ง
ลองฟังแล้วเอาไปปรับใช้กันนะคะ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ หลายๆ คน ไม่มากก็น้อยค่ะ
.
แนะนำ วิสัยทัศน์ในการทำงาน Service Mind และเป้าหมายที่เราตั้งไว้
.
ขอบคุณ # TheStandardPodcast